หมู่ที่ 1 บ้านแม่พริก
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านแม่พริกเริ่มเกิดขึ้น เนื่องจากการอพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากใหม่ในพื้นที่ ตำบลแม่พริกของชนเผ่าไทยลื้อ ซึ่งอพยพมาจากดอยแม่ปั๋ง ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่จากนั้นขุนไพร พริกเขตุ ซึ่งเป็นพ่อขุนในสมัยนั้น ได้ก่อตั้งหมู่บ้านขึ้น โดยได้ใช้ชื่อว่า “บ้านแม่พริก” เป็นหมู่บ้านแรกตามลำดับ ซึ่งต่อมาพื้นที่หมูบ้านแม่พริก ยังได้เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอแม่สรวยในยุคสมัยหนึ่งด้วย จากนั้นเป็นต้นมาการปกครองในหมู่บ้าน ก็ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยเป็นไปตามระดับการปกครองไทย มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำหมู่บ้าน มาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันมี นายสิรินทร์ บุญหล้า เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านแม่พริกมีประชากรทั้งหมด 539 คน
แยกเป็นชาย 272 คน
แยกเป็นหญิง 267 คน
หมู่ที่ 2 บ้านหัวทุ่ง
ประวัติหมู่บ้าน
เดิมบริเวณพื้นที่บ้านหัวทุ่งและบ้านสันจำปาทั้งหมด เป็นเขตพื้นที่ของบ้านแม่พริกต่อมาได้มีชนชาวลื้ออพยพจากจังหวัดเชียงใหม่ ได้มาตั้งรกรากอยู่บริเวณดอนต้นจำปาหลวง
(คำว่า ดอน คนเหนือเรียกว่า สัน) ทางบ้านแม่พริกจึงยกพื้นที่บริเวณบ้านสันจำปาและบ้านหัวทุ่งให้คนเสื้อสร้างบ้านแปลเมือง แล้วตั้งชื่อว่า บ้านสันจำปา หลังจากนั้นได้มีชนชาวลวะจากจังหวัดลำปาง อพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณทางทิศเหนือของบ้านสันจำปา (คือ บริเวณบ้านหัวทุ่งในปัจจุบัน) ทางบ้านสันจำปาจึงได้ยกพื้นที่ ทางทิศเหนือให้ตั้งหมู่บ้านขึ้นโดยการนำของขุนหมื่นเอกและขุนแสงปันจั๋ง (ผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นแรกว่า ขุน) โดยครั้งแรกมีสองหมู่บ้านคือ บ้านหัวฝายและบ้านหัวทุ่ง ต่อมาได้ยุบรวมกันเรียกบ้านหัวทุ่ง และเริ่มมีการตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นมาในปีนั้นคือ ปีพุทธศักราช 2403 โดยได้รวมเป็นศรัทธาเดียวกันกับวัดสะหลีมิ่งเมือง (วัดสันจำปา) ต่อมาเมื่อมีผู้คนจำนวนมากขึ้น หากทางวัดมีการประกอบพิธีทางศาสนาขึ้นทำให้เกิดความลำบาก เพราะพื้นที่วัดมีน้อย นอกจากนั้น ชาวบ้านยังสื่อสารกันค่อนข้างลำบาก เนื่องจากชาวสันจำปาเป็นคนลื้อ ส่วนชาวหัวทุ่งเป็นคนลวะ ทางหมู่บ้านหัวทุ่งจึงได้ปรึกษากัน เพื่อที่จะสร้างวัดขึ้นในหมู่บ้าน โดยมีการเริ่มสร้างในปี พุทธศักราช 2468 บริเวณปางทางเข้าหมู่บ้าน โดยการนำของ ตุ๊เจ้าแก้วหรือพระครูบาแก้วร่วมกับผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้น แล้วได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดสะหลีปิงเมือง หรือวัดหัวทุ่ง และได้มีการจดทะเบียนขึ้นเป็นวัดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2468 ปัจจุบันหมู่บ้านหัวทุ่งมีอายุถึง 153 ปีผ่านมาแล้ว
ปัจจุบันมี นายฉันทกร พิเศษ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านหัวทุ่งมีประชากรทั้งหมด 576 คน
แยกเป็นชาย 289 คน
แยกเป็นหญิง 287 คน
หมู่ที่ 3 บ้านสันจำปา และหมู่ที่ 12 บ้านชุมชนสันจำปา
ประวัติหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 และ 12
หมู่บ้านสันจำปายันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเมื่อ พุทะศักราช 2400 ผู้คนที่มาตั้งหมู่บ้านเดิมเป็นชาวบ้านโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการปลดปล่อยจากกองทับเมื่อครั้งสมเด็จพระบรมวงค์เธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง เมื่อพูทธศักราช 2395 ครั้นการศึกได้ยุติลงเมื่อพุทธศักราช 2397 พวกเขาได้พูกเกณฑ์ให้ไปเป็นไพร่พลในกองงทัพหลายคน แต่ละคนไปได้ภรรยาเชาวไทยใหญ่และไทยลื้อ เมื่อกลับจากกองทัพต่างก็พาภรรยามาด้วย เท่าที่ทราบมีนายปั๋น นายมี นายปุ๊ด และนายตา เป็นหัวหน้าโดยมาตั้งหลักแหล่งครั้งแรกที่ริมฝั่งแม่น้ำลาว ห่างจากหมู่บ้านที่ตั้งปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกเฉียงงเหนือประมาณ 1500 เมตร เมื่อพุทธราช 2398 มีผู้คนมาสมทบจนกลายเป็นหมู่บ้านย่อมๆ จนถึงพุทธศักราช 2400 ได้เกิดภาวะน้ำท่วมแล้วเกิดโรคระบาดจึงได้พากันอพยพขยับขึ้นมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่สูงกว่าที่เดิม โดยบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านมีต้นดอกจำปาใหญ่ 3 ต้น (ปัจจุบัน พ.ศ. 2555) เหลือเพียงต้นเดียว บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านเป็นที่ดอน คำว่า “ดอน” ชาวพื้นเมืองเหนือเรียว่า “สัน” คือเป็นที่เนินจึงได้เอาชื่อต้นดอกจำปา และคำว่า “สัน” มารวมกันเป็นหมู่บ้าน “สันจำปา” เดิมชาวบ้านเรียกว่าบ้าน “สันจุ๋มป๋า” เพราะดอกจำปาว่าคนพื้นบ้านเรียกว่า “ดอกจุ๋มป๋า” หรืออีกชื่อหนึ่ง “บ้านหม้อ” (ปัจจุบันไม่มีใครเรียกเท่าไหร่) เนืองจากในอดีตชาวบ้านหลายครอบครัวได้อพยพมาจาก บ้านหม้อ(ทุ่งต้อม) ตำบลห้วยทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีความชำนาญในการปั้นหม้อดิน จึงได้มาทำเป็นอาชีพเสริมจากอาชีพกสิกรรม จึงมีการปั้นหม้อดินทุกชนิดกันหลายครอบครัว ขายเป็นอาชีพเสริม โดยมีการหาบไปขายตามหมู่บ้านต่างๆ ในตำบลใกล้เคียง ขายบ้างแลกเปลี่ยนเป็นข้าวเปลือกบ้าง ต่อมาทางการจึกเปลี่ยนให้เข้ากับภาษากลางว่าบ้าน “สันจำปา” ต่อมามีผู้คนอพยพมาจากเชียงใหม่ เชียงแสน พะเยา เข้ามาตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่อีกเป็นจำนวนมากกลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ขึ้นมาด้านการปกครองเป็นหมู่บ้านหมู่ที่ 3 ของตำบลแม่พริก ตั้งแต่แรกไม่ทราบว่ามีใครเป็นผู้ใหญ่บ้าน ประมาณพถทธศักราช 2460 ทราบว่าผู้ปกครองหมู่บ้านคือกำนันตาหรือที่ชาวบ้านเรียก “แคว่นตา” เมื่อแคว่นตาหมดสมัยชาวบ้านจึงได้เลือกนายมูล ชัยศีลบุญ เป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่บอ พ.ศ. 2470 และได้รับเลือกเป็นแคว่น (กำนัน) ในวันเดียวกันแคว่นมูลได้รับพระราชทานเป็นขุนในราชทินนามว่า “ขุนประมูลพริกนิคม” เมื่อ พ.ศ. 2471 ต่อมาใน พ.ศ. 2474 บ้านสันจำปาได้แยกออกเป็นสองหมู่บ้านโดยถือเอาถนนที่ตัดผ่านกลางหมู่บ้าน จากทางทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก (ปัจจุบันถนนกำแพงวัดสันจำปาด้านเหนือ) ฟากถนนด้านเหนือแยกไปเป้นหมู่ที่ 9 เรียกว่าบ้าน “ทุ่งมะแตก” เพราะมีต้นเถาวัลย์ชนิดหนึ่งอยู่เป็นจำนวนมากในบริเวณทุ่งนาจึกเรียกว่าทุ่งมะแตก มีนายใจ๋ พิณสาร เป็นผู้ใหญ่บ้าน ขุนประมูลพริกนิคม ได้ลาออกจากกำนัน เมื่อ พ.ศ.2478 บ้านสันจำปาหมู่ 3 และหมู่ 9 จึงกลับมารวมกันอีกครั้งเป็นเพียงหมู่ที 3 มีผู้ใหญ่บ้านปกครองสืบต่อกันมา ดังนี้
นายใจ๋ พิณสาร พ.ศ. 2474 - 2480
นายปินตา ลือดี พ.ศ. 2480 – 2483
นายจินดา ฟูวงค์ พ.ศ. 2483 – 2484
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2485 ตำบลแม่พริกได้ยุบไปรวมกันตำบลแม่สรวยเป้นบ้านสันจำปา หมู่ที่ 8 ตำบลแม่สรวย โดยมีนายก๋อง ธรรมวรรณ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาได้แยกกลับมาเป็นตำบลแม่พริกอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2488 บ้านสันจำปา จึงกลับมาเป็นหมู่ที่ 3 ตำบลแม่พริกเหมือนเดิม โดยมีผู้ใหญ่บ้าน
นายก๋อง ธรรมวรรณ พ.ศ. 2485 – 2490
นายขันธ์ ฤทธิเดช พ.ศ. 2490 - 2493
นายหล้า แถลงกิจ พ.ศ. 2493 - 2499
นายก๋อง ธรรมวรรณ พ.ศ. 2499 - 2519
นายสวัสดิ์ ชัยศีลบุญ พ.ศ. 2519 - 2527 (กำนัน)
นายประสงค์ สมุทร พ.ศ. 2527 - 2539 (กำนัน)
นายสมคิด ฟูวงค์ พ.ศ. 2539 - 2566 (กำนัน)
นายภูพิงค์ สารพิพัฒน์ พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน
ปัจจุบันบ้านสันจำปาได้แยกออกเป็นสองหมู่บ้าน โดยถือเอาแนวเดิมเมื่อ พ.ศ. 2540 ทางฟากใต้ของถนนสายกลางหมู่บ้านเป็นหมู่ 12 ตำบลแม่พริกเมื่อ พุธทศักราช 2540 โดยมีผู้ใหญ่บ้านปกครองกันมาตามลำดับ ดังนี้
นายวินัย ผัสดี พ.ศ. 2540 – 2545
นายวินัย ผัสดี พ.ศ. 2545 – 2550
นายสมจิตร ดวงนิตย์ พ.ศ. 2550 – 2555
นายสนอง กำลังประสิทธิ์ พ.ศ. 2555 – 2559
นายสุทัศน์ กำลังประสิทธิ์ พ.ศ. 2559 – 2564
นายพรชัย ฤทธิเดช พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน
จำปาโชยกลิ่นเย้า ยวนใจ
หอมกรุ่นขจรไป ทั่วแคว้น
รวยระรินกลิ่นสไบ ทองแม่ นางฤา
ยังบ่เทียมเท่าแม้น กลิ่นเจ้า จำปา
หมู่ที่ 3 บ้านสันจำปามีประชากรทั้งหมด 720 คน
แยกเป็นชาย 352 คน
แยกเป็นหญิง 368 คน
หมู่ที่ 12 บ้านชุมชนสันจำปามีประชากรทั้งหมด 774 คน
แยกเป็นชาย 361 คน
แยกเป็นหญิง 383 คน
หมู่ที่ 3 บ้านสันจำปา มีตลาดสด รวม 2 แห่ง
หมู่ที่ 4 บ้านปางกลาง
ประวัติหมู่บ้าน
เริ่มแรกที่จะเกิดเป็นหมู่บ้านได้ มีพ่อค้าต่างแดนมาทำการค้าขาย ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชนคือการทำสวนเมี้ยง เลี้ยงวัว ต่อมาได้มีราษฎรอพยพเข้ามาอาศัยอยู่หลายครอบครัว ทางราชการได้มาจัดตั้งหมู่บ้านขึ้น อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2412 ชื่อว่า บ้านปางกลาง หมู่ที่ 4 ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ปัจจุบันมี นายเสน่ห์ กันทะนัด เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านปางกลางมีประชากรทั้งหมด 127 คน
แยกเป็นชาย 68 คน
แยกเป็นหญิง 59 คน
หมู่ที่ 5 บ้านปางต้นผึ้ง
ประวัติหมู่บ้าน
เดิมได้มีเงี้ยวเข้ามาอยู่เพื่อทำอาชีพทางสวนเมี่ยง สวนชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2417 ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ 2417 ต่อมาได้มีคนเมืองเข้ามาประกอบอาชีพรวมกันเงี้ยว จำนวน 7 หลังคาเรือนต่อมาก็ได้มีจำนวนหลังคาเข้ามาเรื่อยๆ จนมาถึงปี 2466 จึงได้แบ่งเขตรับผิดชอบระหว่าง หมู่ 4,5.6 โดยที่หมู่ 5 ปางต้นผึ้ง ได้คัดเลือกตัวแทนหนึ่งคน คือ นายสิงห์ เทโวขัติ เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 จากนั้นมาก็ได้มีประชากรมาขึ้นเมื่อเริ่มก่อตั้งมีต้นเมี่ยงอยู่มากทำให้พ่อค้าจากต่างบ้านทางเขตอำเภอพานและคนที่มาจากเชียงใหม่มาตั้งถิ่นฐาน เหตุที่ได้ขึ้นชื่อว่า ปางต้นผึ้งเพราะป่าในพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยดอกไม้ นกนาๆพันธุ์ที่เป็นอาหารของผึ้งป่าจึงเก็บรังผึ้งมาขายเป็นรายได้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันมี นางอารีรัตน์ เทโวขัติ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านปางต้นผึ้งมีประชากรทั้งหมด 192 คน
แยกเป็นชาย 102 คน
แยกเป็นหญิง 90 คน
หมู่ที่ 6 บ้านปางอาณาเขต
ประวัติหมู่บ้าน
แรกเริ่มเดิมทีได้มีพ่อค้าวัวต่าง ชื่อส่างมู เป็นชาวเผ่าลื้อ ได้เดินทางมาค้าขายและได้พักค้างคืนที่หมู่บ้านหลายวัน พ่อค้าวัวต่าง ชื่อ ส่างมู ได้พบเห็นใบชาอ่อน ก็เลยเด็ดเอามาลองต้มชิมดู เขารู้สึกว่ารสชาติทำให้สดชื่นและหายง่วงขึ้นทันที ต่อจากนั้นคนที่ชื่อ ส่างมู ก็เล่าเรื่องที่ไปพบใบชาอ่อนและรสชาติของใบชาอ่อนให้ญาติพี่น้องฟัง หลังจากนั้น ส่างมู ก็ได้ชักชวนญาติพี่น้อง อพยพมาอยู่เพื่อจะมาทำชามัก(เมี้ยง)หลังจากนั้นก็มีราษฎรจากหลายทิศหลายทาง อพยพโยกย้ายเข้ามาอยู่จนเกิดเป็นหมู่บ้านขึ้นมา ชาวบ้านเรียกกันว่าบ้านปางนอก ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนชา (สวนเมี้ยง) ทำไร่ข้าว และนำผลผลิตจากการทำชาแล้วนำไปขายที่อำเภอพาน ก็ได้เดินทางมาติดต่อค้าขายกับชาวบ้านในหมู่บ้านเป็นจำนวนนับร้อยปี หลังจากนั้นทางราชการก็ได้เข้ามาจัดตั้งหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ.2406 ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านปางอาณาเขต หมู่ที่ 6 ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ชื่อบ้านปางอาณาเขต เพราะว่ามีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอพาน โดยมรเทือกเขากั้นเป็นแนวเขต
ปัจจุบันมี นางสมพงศ์ แตนศรี เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านปางอาณาเขตมีประชากรทั้งหมด 73 คน
แยกเป็นชาย 37 คน
แยกเป็นหญิง 36 คน
หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งฟ้าผ่า
ประวัติหมู่บ้าน
หมู่ที่ 7 ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ตั้งแต่เดิมบ้านทุ่งฟ้าผ่าในปัจจุบัน ยังเป็นทุ่งนาและป่าแขมหลายร้องไร่ ได้มีรษฏร หมู่ที่ 10 บ้านโป่งในปัจจุบันนี้ หรือเรียกกันตามสมัยก่อนว่า บ้านโป่งหนองขวาง ตั้งอยู่ในเขตตำบลป่าแดด ได้พากันเอาช้าง(จ๊าง) มาเลี้ยงที่แห่งนี้ทุกวันเรียกว่ามาเช้า เย็นกลับ มีวันหนึ่งเมื่อนำช้างมาถึงแล้วก็พากันปล่ายช้างทุกเชือกหากินตามลำพังของช้าง จากนั้นก็ช่วยกันหาปลาจับปลาไหลกัน เมื่อนำปลาไหลมาแล้ว ชายครวญช้าง (กวานจ๊าง) คนหนึ่ง ได้ปลาไหลมา ก็เลยเอามาร้อยเป็นพวงแขวนไว้ที่หูช้าง(เอาป๋าห้อยหูจ๊าง) ทั้งสองข้างแล้วตนก็ตะโกนบอกเพื่อนๆว่า “เฮ้ย ช้างตัวนี้เหน็บดอกหมาก” ช่วงนั้นท้องฟ้ามืดครื้มและมีฝนตก ทันใดนั้นเกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ฟ้าผ่าเปรี้ยงลงมาทันที
ทั้งช้างและครวญช้างตายพร้อมกัน ด้วยเหตุนี้ ประชาชนจึงเรียกว่า “ทุ่งฟ้าผ่า” เดิมมา
ปัจจุบันมี นายจำปี ธรรมโน เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านทุ่งฟ้าผ่ามีประชากรทั้งหมด 568 คน
แยกเป็นชาย 293 คน
แยกเป็นหญิง 275 คน
หมู่ที่ 8 บ้านหัวริน
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านหัวรินเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2405 จนถึงปัจจุบัน มีอายุ 152 ปี โดยผู้ก่อตั้งหมู่บ้านอพยพมาจาก บ้านไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง และอีกส่วนหนึ่งอพยพมาจาก บ้านฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มาอยู่รวมกันหลายครอบครัวด้วยความสามัคคี ความผูกพันธ์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ด้วยดีตลอดมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ส่วนชื่อหมู่บ้านหัวริน คือสมัยก่อน มีรางน้ำทิ้ง หรือเรียกว่า “ ริน ” ที่ชาวบ้านเรียกชื่อสมัยก่อน ที่ตั้งของหมู่บ้าน อยู่เหนือรางน้ำ หรือว่าริน ชาวบ้านเลยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านหัวริน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาถึงปัจจุบัน บ้านหัวรินตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ อาชีพหลักของคนในหมู่บ้าน คือการทำนาทั้งสองฤดู คนในหมู่บ้านทั้งหมด นับถือ ศาสนาพุทธ
มีผู้นำทางศาสนา หรือ เจ้าอาวาท ทั้งหมด 13 รูป
ปัจจุบันมี นายสุทธิพันธ์ มหาวงศนันท์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านหัวรินมีประชากรทั้งหมด 410 คน
แยกเป็นชาย 193 คน
แยกเป็นหญิง 217 คน
หมู่ที่ 9 บ้านปางอ้อย
ประวัติหมู่บ้าน
เดิมที่เป็นป่าลาดชัน ได้มีคนต่างถิ่นได้ไปจับจองทำสวนอ้อย ผู้ที่มาทำสวนอ้อย ชื่อพ่ออุ้ยวงค์ และแม่อุ้ยน้อย เป็นผัวเมียกัน เมื่อปี 2457 ดังนั้นจึงเรียกว่าบ้านปางอ้อย จนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งมีผู้นำหมู่บ้าน ดังนี้บ้านปางอ้อย หมู่ที่ 9 จัดตั้งตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 1 นายปั๋น อุสา
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 นายจันทร์ แตนศรี
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 นายโอ๊ด เทวตา
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4 นายฉลาด เร็วไว (เป็นผู้ใหญ่บ้าน 2 สมัย)
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 5 นายถวิล ตันโยธา
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 6 นายจำลอง อุตคำ (เป็นผู้ใหญ่บ้าน 2 สมัย)
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 7 นายไพรจิตร พิชัย
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 8 นางสายฝน จันทร์วรรณ
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 9 นายนิทัศ คำเป็ง
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 10 นายจำรัส คำวงค์ษา
ปัจจุบันมี นายธนพล จันทร์วรรณ เป็นกำนันตำบลแม่พริก
บ้านปางอ้อยมีประชากรทั้งหมด 384 คน
แยกเป็นชาย 197 คน
แยกเป็นหญิง 187 คน
หมู่ที่ 10 บ้านโฮ่ง
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านโฮ่งหมู่ที่ 10 ตำบลแม่พริก เป็นหมู่บ้านกว่า 50 ปี ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบ ชาวบ้านอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเริ่มแรกมาจากหลายจังหวัด เช่น ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เดิมเป็นหมู่บ้านสันจำปา ต่อมาจึงได้มีการแยกหมู่บ้าน จึงได้จัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ เป็นบ้านโฮ่ง หมู่ที่ 10 ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ปัจจุบันมี นายนายสรวิชญ์ ธิวงศ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านโฮ่งมีประชากรทั้งหมด 519 คน
แยกเป็นชาย 235 คน
แยกเป็นหญิง 284 คน
หมู่ที่ 11 บ้านปางซาง
ประวัติหมู่บ้าน
เดิมประวัติบ้านปางซาง ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2435 ได้ขึ้นการปกครองร่วมกับหมู่ที่ 4 บ้านปงสนุก มีนายตา ปันแดง เป็นผู้ใหญ่บ้าน จากนั้นได้แยกการปกครองจากหมู่ที่ 4 มาขึ้นการปกครองกับหมู่ที่ 9 บ้านปางอ้อย พ.ศ.2465 พ่อหลวงคนแรกคือ นายปั๋น อุตส่า พ.ศ.2465 หมดวาระ ได้แต่งตั้ง นายจันทร์ แตนศรี พ.ศ. 2502 เป็นพ่อหลวงคนที่ 2 หมดวาระลง จีงได้แต่งตั้งให้นายโอ๊ด เทวตา เป็นพ่อหลวง พ.ศ.2512 หมดวาระลงได้แต่งตั้งให้ นายฉลาด เร็วไว เป็นพ่อหลวงคนที่ 4 พ.ศ.2523 ก็ได้แยกการปกครองจากหมู่ที่ 9 บ้านปางอ้อย พ.ศ.2523 แบ่งการปกครองมาเป็น หมู่ที่ 11 บ้านปางซาง ซึ่งขึ้นการปกครองโดย พ่อหลวง แสวง ต่อมาปี พ.ศ.2550 ก็ได้เกษียณอายุราชการครบ 60 ปี ได้เลือกผู้ใหญ่บ้านขึ้นใหม่ คือ นายประยงค์ ศรีคำ
ปัจจุบันมี นายบุญส่ง มะโนจิตร เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านปางซางมีประชากรทั้งหมด 209 คน
แยกเป็นชาย 117 คน
แยกเป็นหญิง 92 คน
หมู่ที่ 13 บ้านป่าซางพัฒนา
ประวัติหมู่บ้าน
เดิมหมู่บ้านป่าซางพัฒนา มีจำนวนประชากรไม่มากนักนับเป็นครัวเรือนประมาณ 20 ครัวเรือน มาตั้งรกราก และประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ด้วยภูมิประเทศที่ตั้งของหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ซาง จึงได้ตั้งชื่อว่า บ้านป่าซาง ในราวปี พ.ศ.2460 มีการอพยพย้ายถิ่นที่ตั้งหมู่บ้านเนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่า และมีเสือชุกชุมมาก ซึ่งชาวบ้านเกรงว่าจะเกิดอันตราย จึงพากันอพยพไปอยู่ที่บ้านแม่พริกส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่ บ้านสพพริก ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตก ของหมู่บ้านประมาณ 700 เมตร ต่อมาในปี พ.ศ.2465 บ้านสะพริกมีประชากรเพิ่มมากขึ้น และได้ขอแบ่งแยกการปกครองจากบ้านแม่พริกหมู่ที่ 1 เป็นบ้านสพพริก อย่างเป็นทางการโดยมีครัวเรือนทั้งหมด 50 ครัวเรือน ในปี พ.ศ.2478 ได้อพยพจากบ้านสพพริกมาอยู่ที่เดิม คือ บ้านป่าซางเดิม อยู่มาจนถึงปี พ.ศ.2480 ทางการได้ยกเลิกการปกครองหมู่บ้านมารวมกับ บ้านแม่พริกหมู่ที่ 1 และอยู่มาในปี พ.ศ.2542 ประชากรในส่วนบ้านป่าซางเดิม มีความต้องการแบ่งแยกการปกครองจึงเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมหมู่บ้าน ซึ่งในที่ประชุมเห็นชอบให้แบ่งแยกการปกครองหมู่บ้าน ด้วยเหตุผล เพื่อความสะดวกในการพัฒนาหมู่บ้าน และการปกครองดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ได้อนุมัติให้แบ่งแยกการปกครองหมู่บ้าน อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2544 และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นใหม่ชื่อว่า บ้านป่าซางพัฒนา หมู่ที่ 13 ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันมี นายสุขเกษม กันทะวงค์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านป่าซางพัฒนามีประชากรทั้งหมด 380 คน
แยกเป็นชาย 175 คน
แยกเป็นหญิง 205 คน